Posted on

หิ้วอะไร…ต้องจ่ายภาษี

จากข่าวที่แจ้งกันมาว่านักเดินทางขาเข้าที่เดินทางกลับเข้าเมืองไทย โดยกรมศุลกากรมีการเก็บภาษีนั้น นักท่องเที่ยวต่างตื่นตระหนกกันเลยใช่ไหมหละคะ แต่ล่าสุดทางกรมศุลกากรได้ออกมาชี้เเจงและแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบถึงของที่นำติดตัวได้ นั่นก็คือ

  • ของส่วนตัวเพื่อใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพราคาไม่เกิน 20,000 บาท และต้องไม่เป็นของต้องห้าม ของต้องกำกัด (ของที่จำเป็นจะต้องทำการขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนที่จะมีการนำ เข้าหรือส่งออกสินค้า) และไม่มีลักษณะทางการค้า
  • ของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาทหรือเป็นของที่มีลักษณะเชิงพาณิชย์แม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท  ก็ต้องมีการเสียภาษี

ซึ่งคนที่ขนของที่คิดว่าเสี่ยงจะเสียภาษีก็ต้องเข้าช่องตรวจที่มีของต้องสำแดง หรือช่องสีแดงค่ะ และหากเป็นของที่ต้องขออนุญาตนำเข้า อัตราภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า เช่น กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

โดยมีวิธีการคำนวณ คือ ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า (ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่มค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ตามข้อมูลด้านล่างที่เราทำเเบบง่ายๆมาให้ดูกันนะคะ

และสำหรับนักหิ้วก็ต้องคำนวณค่าภาษีต่างๆให้ถี่ถ้วนนะคะ  แต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า-ออกแล้วหอบหิ้วของฝากมาฝากเพื่อน ฝากญาติพี่น้อง ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่มีของต้องสำแดง ก็สบายใจหายห่วงได้แล้วค่ะ

แต่หากคิดว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ หรือพบเห็นพฤติการณ์เกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เราสามารถร้องเรียนได้ตามช่องทางต่าง ๆ ได้นะคะ อย่าง

  • สายด่วนรับเรื่องร้องเรียน 1332
  • ร้องเรียนผ่านทาง Application LINE ID: @customshearing
  • ร้องเรียนด้วยตนเองผ่านศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามโครงการ “ระฆังศุลกากร”
  • ส่งไปรษณีย์มาที่กรมศุลกากร หรือส่ง E-mail มาได้ที่ ctc@customs.go.th
  • นอกจากนี้ยังสามารถมาร้องเรียนด้วยตนเองที่กลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรม ณ กรมศุลกากร หรือร้องเรียนผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี GCC 1111 หรือหน่วยราชการอื่น เช่น ป.ป.ช. /สตง. หรือร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนได้อีกด้วย

ถ้าใครโดนจ่ายภาษีที่คิดว่าไม่เป็นธรรมกับเราฟ้องไปได้เลยค่ะ แต่ทั้งนี้เราต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เขาด้วยนะคะ